ผลงาน ของ พระธรรมวงศาจารย์ (สุข สุขโณ)

บทความชีวประวัตินี้เขียนเหมือนประวัติสมัครงาน กรุณาช่วยปรับปรุงโดยการปรับแก้ให้มีลักษณะเป็นกลางและเป็นสารานุกรมมากขึ้น

ผลงานด้านการศึกษา

  • พ.ศ. 2481 เป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแผนกธรรม สำนักวัดวิเศษไชยาราม
  • พ.ศ. 2491 ได้รับแต่งตั้งเป็นศึกษาธิการอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2492 ได้รับแต่งตั้งเป็นศึกษาธิการจังหวัดกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2494 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าสำนักศาสนศึกษาวัดกลาง จังหวัดกาฬสินธุ์ และได้ พัฒนาสำนักเรียนจนกรมศาสนาคัดเลือกให้เป็นสำนักเรียนดีเด่น
  • พ.ศ. 2495 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะอำเภอเมืองกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2496 ได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ในเขตอำเภอเมือง
  • พ.ศ. 2515 ได้รับแต่งตั้งเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2516 ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะจังหวัดกาฬสินธุ์ จนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2517 ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้อำนวยการโรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดกลางกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2528 โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมในโครงการ ทุนการศึกษา ของมูลนิธิหลวงพ่อวัดปากน้ำภาษีเจริญ กรุงเทพฯ
  • พ.ศ. 2532 ได้รับการคัดเลือกจากกรมการศาสนา ให้เป็นสำนักเรียนดีเด่น-ปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2534 ได้รับการแต่งตั้งจากกรมการศาสนา ให้ดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการ โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ วัดกลางกาฬสินธุ์

งานเผยแพร่พระพุทธศาสนา

  • พ.ศ. 2489-พ.ศ. 2506 ได้ออกไปเทศนาอบรมให้ความรู้แก่ประชาชนในทุกพื้นที่ของ จังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งกลางวัน-กลางคืน โดยการเดินเท้าและใช้เกวียน
  • พ.ศ. 2505 จัดตั้งพุทธสมาคมจังหวัดกาฬสินธุ์ ขึ้นที่วัดกลางกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2518 เป็นประธานอำนวยการอบรมประชาชนประจำตำบล (อ.บ.ต.) กาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2525 เป็นประธานโครงการพัฒนาเยาวชนภาคฤดูร้อนของจังหวัดทุกโครงการ
  • พ.ศ. 2528 เป็นประธานอำนวยการพระธรรมทูต จังหวัดกาฬสินธุ์
  • พ.ศ. 2531 เป็นประธานจัดหาทุนสงเคราะห์นักเรียนประถมศึกษา-มัธยมศึกษา
  • พ.ศ. 2532 เป็นประธานพระนักเผยแพร่พระพุทธศาสนาประจำจังหวัดกาฬสินธุ์

งานแต่งหนังสือ

  • พ.ศ. 2513 แต่งหนังสืออานิสงส์การสร้างพระอุโบสถ พิมพ์แจก 2.000 เล่ม
  • พ.ศ. 2515 แต่งหนังสือคู่มือพ่อบ้าน พิมพ์แจก 5,000 เล่ม
  • พ.ศ. 2520 แต่งหนังสือสาสน์วัดกลาง พิมพ์แจก 2,000 เล่ม และแต่งหนังสือคู่มือ ปฏิบัติกรรมฐานแบบดั้งเดิมขั้นพื้นฐาน พิมพ์แจก 1,000 เล่ม
  • พ.ศ. 2524 แต่งหนังสือ หลักการแต่งกาพย์ กลอนต่างๆ พิมพ์แจก 1,000 เล่ม
  • พ.ศ. 2525 แต่งหนังสืออุบาทว์ 8 ประการ จำนวน 3,000เล่ม
  • พ.ศ. 2528 แต่งหนังสือบาลีไวยากรณ์ พิมพ์ขึ้นเป็นคู่มือครูและผู้เรียนปริยัติธรรม จำนวน 2,000 เล่ม
  • นอกจากนี้ยังมีหนังสือเบ็ดเตล็ด เกร็ดความรู้อื่นๆ อีกมากมาย และพิมพ์เพื่อแจกประชาชนในโอกาสต่างๆ และที่สำคัญคือ รวบรวมผญาสุภาษิต คำสอนโบราณ ให้จัดพิมพ์แจก ในงานฉลองอายุครบ 7 รอบ 84 ปี พระเทพวิสุทธาจารย์ (สุข สุขโณ) เมื่อ 6 พฤศจิกายน 2540

งานส่งเสริมด้านการปฏิบัติธรรมกรรมฐาน

  • พ.ศ. 2515 ก่อตั้งศูนย์อบรมวิปัสสนากรรมฐาน ขึ้นที่วัดกลางกาฬสินธุ์ เพื่อให้ภิกษุ สามเณร ประชาชนทั่วไปเข้ารับการฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐานขั้นพื้น ฐานอย่างถูกวิธี ติดต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน
  • พ.ศ. 2520 ได้ริเริ่มอนุรักษ์ที่สาธารณประโยชน์ไม่ให้เป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ใดที่มิ ใช่เจ้าของ เพื่อให้เป็นสมบัติของสาธารณชน และเชิญชวนให้ร่วมกัน ปลูก ดูแลรักษาต้นไม้ในพื้นที่เพื่อใช้เป็นที่ฝึกอบรมวิปัสสนากรรมฐาน

งานสาธารณูปการ

  • พ.ศ. 2529 เป็นประธานหาทุนบูรณปฏิสังขรณ์โรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังเก่า ลักษณะเป็นศาลาทรงไทย จำนวน 2 หลัง สร้างด้วยไม้เนื้อแข็ง ราคา 253,000 บาท
  • พ.ศ. 2530 จัดทุนสร้างห้องน้ำ-ห้องสุขา แบบก่ออิฐถือปูน ที่วัดกลางกาฬสินธุ์ ราคา 45,000 บาท
  • พ.ศ. 2530 จัดหาทุนบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถวัดกลาง ลักษณะเป็นทรงไทย สร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก บานประตู-หน้าต่างเป็นไม้ประดู่สลัก ภาพพุทธประวัติ และศิลปวัฒนธรรมอีสาน มูลค่า 3,640,000 บาท
  • พ.ศ. 2531 จัดหาทุนสร้างวิหารวัดกลางกาฬสินธุ์ แบบทรงไทย 2 ชั้น คอนกรีต เสริมเหล็ก มูลค่า 2,964,000 บาทจัดหาทุนสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม หลังใหม่ แบบทรงไทย 2 ขั้น คอนกรีตเสริมเหล็ก ค่าก่อสร้าง 10,650,000 บาท
  • พ.ศ. 2532 จัดหาทุนสร้างกำแพงแก้วรอบพระอุโบสถวัดกลางแบบก่ออิฐถือปูน มีลายปูนปั้นนูนต่ำ ด้านนอก เป็นเรื่องคติธรรมคำสอนในวัฒนธรรม อีสานโบราณ ด้านในเป็นภาพนิทานชาดกในพระพุทธประวัติ รอบ พระอุโบสถ สิ้นค่าก่อสร้าง 295,500 บาท
  • พ.ศ. 2533 จัดหาทุนซ่อมแซมปฏิสังขรณ์โรงเรียนพระปริยัติธรรมวัดกลางหลังเก่า สิ้นเงิน 250,000 บาท
  • พ.ศ. 2524 จัดหาทุนซ่อมแซมปฏิสังขรณ์ ศาลาการเปรียญวัดกลาง แบบทรงไทย 2 ชั้น ค่าปฏิสังขรณ์ 564,500 บาท

การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์

  1. เป็นผู้สนับสนุนร่วมมือกับทางราชการ สร้างสถานที่พักผ่อนในบริเวณ หรือสถานที่ที่ราชการกำหนด เช่น ศาลาพักร้อนในเขตเทศบาล ที่พักในสวนสาธารณะแก่งดอนกลาง ชักชวน ให้ประชาชนร่วมกันปลูกต้นไม้ และจัดตั้งศูนย์อนุรักษ์ป่าไม้ร่วมกับจังหวัดกาฬสินธุ์ 12 แห่ง
  2. ปี พ.ศ. 2534 เกิดอุทกภัยขึ้นในจังหวัดกาฬสินธุ์ ได้รวบรวมปัจจัยต่างๆ เพื่อนำไปแจกจ่ายพระภิกษุ สามเณร และประชาชน ที่ได้รับความเดือดร้อน คิดเป็นมูลค่า 25,000 บาท การพัฒนาวัด ได้ดำเนินการปรับปรุง บูรณะและพัฒนาวัดกลางกาฬสินธุ์ ตลอดมาอย่างต่อเนื่องจนได้รับผลเป็นที่ปรากฏ ดังนี้
  • พ.ศ. 2509 ได้รับคัดเลือกจากกรมการศาสนา ให้เป็น วัดพัฒนาตัวอย่างและวัดพัฒนาดีเด่น
  • พ.ศ. 2515 ได้รับยกย่องจากกรมการศาสนา ให้เป็น วัดพัฒนาตัวอย่างเกียรตินิยมดีเด่น
  • พ.ศ. 2521 ได้รับการยกฐานะ ให้เป็น พระอารามหลวง ประจำจังหวัดกาฬสินธุ์

งานพิเศษ

  1. พ.ศ. 2511-ปัจจุบัน ได้เป็นผู้ริเริ่มการจัดวาง หลักการทำบุญที่ถือว่าเป็นงานสำคัญต่างๆ เช่น งานพิธีวางศิลาฤกษ์ งานพิธียกช่อฟ้าใบระกา งานผูกพัทธสีมา (ขอดสิม) งานพระราชทานเพลิงศพพระมหาเถรานุเถระ และงานที่เกี่ยวข้องกับการทำบุญทุกๆ อย่าง ไม่ให้มีมหรสพทุกชนิด ให้งดการพนัน งดการสูบบุหรี่หรือกินหมาก และงดดื่มสุราเมรัย สิ่งเสพติดทุกประการ ให้งดการฆ่าสัตว์ ให้จัดอาหารมังสะวิรัติ (อาหารเจ) ห้ามแต่งกายไม่สุภาพเรียบร้อยเข้าวัด และในสิ่งที่เห็น ว่าไม่เหมาะสมต่างๆ ติดต่อกันมานานถึงกว่า ๓๐ ปีแล้ว จนกลายเป็นตัวอย่างของจังหวัดใกล้เคียง
  2. พ.ศ. 2519-ปัจจุบัน ได้จัดวางหลักการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ให้เจ้าคณะสังฆาธิการระดับอำเภอ ตำบล ในเขตจังหวัดกาฬสินธุ์ ให้ปฏิบัติเป็นแบบแผนเดียวกันตามหลักปฏิบัติที่ถูกต้องแต่ดั้งเดิมและร่วมปฏิบัติเป็นหมู่คณะ ในงานผูกพัทธสีมา (ขอดสิม) รวม 9 วัน 9 คืน หรืองาน พระราชทานเพลิงศพพระมหาเถระ 7 วัน 7 คืน ให้เป็นแบบปฏิบัติที่ถูกต้องมาจนปัจจุบัน